เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 7. มหาจัตตารีสกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราจึงประกาศธรรมบรรยายชื่อว่ามหาจัตตารีสกะฝ่ายกุศล
20 ประการ ฝ่ายอกุศล 20 ประการ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกยังประกาศไม่ได้ไว้ ด้วยประการฉะนี้
[143] ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเข้าใจธรรม
บรรยายชื่อว่ามหาจัตตารีสกะ1นี้ ว่าตนควรติเตียน หรือคัดค้าน คำกล่าวเช่นนั้น
และคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา 10 ประการนี้ของสมณะหรือพราหมณ์นั้น จะเป็น
เหตุให้ถูกตำหนิได้ในปัจจุบันทีเดียว คือ
1. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาทิฏฐิ ท่านผู้เจริญก็ต้องบูชาสรรเสริญ
สมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
2. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาสังกัปปะ ท่านผู้เจริญก็ต้องบูชา
สรรเสริญสมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาสังกัปปะ
3. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาวาจา ฯลฯ
4. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมากัมมันตะ ...
5. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาอาชีวะ ...
6. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาวายามะ ...
7. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาสติ ...
8. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาสมาธิ ...
9. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาญาณะ ...
10. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาวิมุตติ ท่านผู้เจริญก็ต้องบูชาสรรเสริญ
สมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง พึงเข้าใจธรรม
บรรยายชื่อว่ามหาจัตตารีสกะนี้ ว่าตนควรติเตียนหรือควรคัดค้าน คำกล่าวเช่นนั้น
และคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา 10 ประการนี้ของสมณะหรือพราหมณ์นั้น จะเป็น
เหตุให้ถูกตำหนิได้ในปัจจุบันทีเดียว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 8. อานาปานัสสติสูตร

ภิกษุทั้งหลาย แม้พวกวัสสะและพวกภัญญะชาวโอกกลชนบท ผู้เป็น
อเหตุกวาทะ1 อกิริยวาทะ2 นัตถิกวาทะ3 เหล่านั้น ก็ยังเข้าใจธรรมบรรยายชื่อ
ว่ามหาจัตตารีสกะ ว่าไม่ควรติเตียน ไม่ควรคัดค้าน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกลัวการนินทา การว่าร้าย และการแข่งดี”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหาจัตตารีสกสูตรที่ 7 จบ

8. อานาปานัสสติสูตร
ว่าด้วยวิธีเจริญอานาปานสติ

[144] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ใน
บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวกผู้เป็นเถระ มีชื่อเสียงหลายรูป
ด้วยกัน คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ
ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากัปปินะ ท่านพระ
มหาจุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระสาวก
ผู้เป็นเถระที่มีชื่อเสียงรูปอื่น ๆ
ก็สมัยนั้น พระเถระทั้งหลายสั่งสอน พร่ำสอน4ภิกษุใหม่ทั้งหลาย คือ
ภิกษุผู้เป็นเถระบางพวกสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุ 10 รูปบ้าง บางพวกสั่งสอน